วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 4

ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555    ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้ค่ะ
อาจารย์ได้อธิบายในเรื่อง    ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยไว้ดังนี้
1. การนับ   
  เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น
2.ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวันให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
3. การจับคู่
  เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท 
เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ 
เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า
6.การจัดลำดับ
 เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่งๆตามคำสั่งหรือตามกฎเช่นจัดบล็อก5แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น
7.รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตามปกติแล้วผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด 
มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน
9. เซต 
เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่ายๆจากสิ่งรอบๆตัวมีการเชื่อมโยงกับสภาพรวมเช่นรองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น
10.เศษส่วน
 ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถมแต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย
 เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลายและพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์
12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
 ช่วงวัย5ปีขึ้นไปผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้างโดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่าปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
-สั่งงานให้เขียนกิจกรรมที่จะจัดให้กับเด็กปฐมวัยในเรื่องของขอบข่ายทั้ง12ขอบข่าย

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 3

21 พฤศจิกายน 2555

-อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มละ 3-4คน จากนั้นให้ย้ายที่นั่งไปกลุ่มอื่นโดยไม่ให้อยู่ที่เดิมหรือกลุ่มเดิม
- อาจารย์ ให้แต่ละกลุ่มสรุปงานเดี่ยวแต่ละคนที่สั่งไปในอาทิตย์ที่แล้ว

>สรุปความหมายของแต่ละคนในกลุ่ม  
ความหมายของคณิตศาสตร์  คือการศึกษาในลักษณ์ต่างๆเพื่อให้สามารถนำไปวิเคราะห์การเรียนรู้และเลือกใช้กลวิธีในการศึกษาให้เหมาะสม  คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ใช้สัญลักษณ์และโครงสร้างในการคิดรวบยอด  โดยมีโครงสร้างทั้งหลายที่แสดงไว้ด้วยสัญลักษณ์ และมีหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
กับสัญลักษณ์

>ที่มาของความหมาย 
     คณะักรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ.สำนักงานการวัดและประเมินผลชั้นเรียนกลุ่มทักษะคณิตศาสตร์.  กรุงเทพ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,2536
   มยุรี ณะฤทธิ์.คณิตศาสตร์สำหรับครูประถม.กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม,2537(หน้า1)

>สรุปความหมายหลักการสอนคณิตศาสตร์
       -ส่งเสริมการทำกิจกรรมความเข้าใจทางคณิตศาสตร์
       -การสอนที่ไๆด้รับจากสื่อการเรียนที่เป็นรูปธรรมและสัญลักษณ์
       -มีความคิดรวบยอดพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์

>ที่มาของหลักการสอนคณิตศาสตร์
 ประสาท สอ้านวงศ์. คณิตศาตรื4. สุโขทัย:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช,2525
 นิตยา ประพฤติกิจ. การพัฒนาเด็กปฐมวัย:หน่อยศึกษานิเทศกรมการฝึกหัดครู,2536

>สรุปขอบข่ายหรือเนื้อหาคณิคศาสตร์
    -คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
    -การเรียนรู้เื่รื่องรูปทรง
    - ความรู้เกี่ยวกับระบบจำนวนจริง
    - การจัดหมวดหมู่
    - การเรีัยงลำดับ
  
>ที่มาของขอบข่ายหรือเนื้อหาคณิคศาสตร์
 นิตยา ประพฤติกิจ. การพัฒนาเด็กปฐมวัย: หน่วยศึกษานิเทศกรมการฝึกหัดครู,2536
 ชวลิต บรูพาศิริวัฒน์. หลักการคณิตศาสตร์.กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยราชภัฏจัทรเกษม,2538

>สรุปนักฤษฎีที่พูดถึงคณิตศาสตร์
-ทฤษฎีการใช้ระบบประสาทสัมผัสแบ่งเป็นความพร้อมทางสติปัญญาและลำดับขั้นพัฒนาการ
-Georg Cantor เป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎีเซต เป็นผู้นิยามจำนวนนับ 

 >ที่มาของนักฤษฎีที่พูดถึงคณิตศาสตร์
นิตยา ประพฤติกิจ. การพัฒนาเด็กปฐมวัย: หน่วยศึกษานิเทศกรมการฝึกหัดครู,2536
เกียรติกูล เจียรนัยธนะกิจ. ทฤษฎีการคำนวน. กรุงเทพ:สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี,2554


 

 

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่2

14 พฤศจิกายน  2555
อาจารย์ให้  วาดภาพอะไรก็ได้ ที่ใช้ แทนสัญลักษณ์ประจำตัวเอง พร้อมเขียนชื่อ - นามสกุล ลงในกระดาษ















อาจารย์ ให้นักศึกษาที่มาเรียน ก่อน 08.30 น. นำกระดาษที่มี สัญลักษณ์พร้อมชื่อไปติดบนที่กระดาน















สิ่งที่เด็กๆได้เรียนรู้จากกิจกรรมนี้ คือ

 >  การนับจำนวน       > การจำแนกประเภท    

 > รูปทรง                    > รูปร่าง    

 >  ขนาด                   

         การจัดหมวดหมู่ทำให้เด็กได้สามารถ เรียนรู้ถึง เรื่อง การจัดแยะ  การมาก่อนเวลา  มาตรงเวลา   ทำให้เด็กๆ รู้จัก การตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบ และ การเตรียมพร้อม ก่อนที่จะมาเรียนทุกครั้ง

งาน ที่อาจารย์สั่งคือ

 > ให้นักศึกษาไปห้องสมุดของมหาวิทยาลัย  ให้ไปหาหนังสือ ที่เกี่ยวกับ คณิตศาสตร์  เลือกมาอย่างน้อย 5 เล่ม แล้วให้อธิบายดังนี้       

    -  ชื่อหนังสือ
     - ผู้แต่ง   พศ.  รหัสเล่มหนังสือ
> ให้นักศึกษา ไปหาหนังสือ มา 1 เล่ม เลือกผู้ที่ให้ความหมายของคณิตศาตร์มา 1 คน พร้อมอ้างอิง บรรณานุกรมมาด้วย

> หลักการสอน คณิตศาสตร์

>บอกขอบข่าย / เนื้อหาคณิตศาสตร์

>ให้หานักทฤษฎีที่พูดถึงคณิตศาตร์

ครั้งที่1


วันที่  7 พฤศจิกายน 2555

อาจารย์ ปฐมนิเทศ

- การแต่งกาย การสั่งงาน การใช้คำพูด   พูดให้เหมาะสม  ไม่ใช่ มีความรู้ท่วมหัว  แต่เอาตัวไม่รอด

 ประเมินตามที่ตัวเองทำได้

อาจารย์ จะแสดงความคิดเห็น เมื่อ นักศึกษานำเสนองานเสร็จแล้ว
-ประเมินตาม แนวการเรียนการสอน 
-  อาจารย์ชี้แจง เรื่อง  บล็อก     
>โพสหลังเรียนทุกครั้ง (อาจารย์จะปล่อยก่อนเวลาเลิก  40 นาที เพื่อให้นักศึกษาไปโพสบล็อก)      
> งานวิจัย ที่ลิ้งค์ลงในบล็อก      
บทความ      
> โทรทัศน์ครู     
> การใช้เครื่องมือในการเรียนรู้

                 การนำเสนองานการจัดหมวดหมู่ ให้เข้าใจง่าย และนำความรู้ ที่ได้รับจาการกรียนรู้ ที่ อาจารย์สอน และ ค้นคว้าเพิ่มเติม ด้วยตนเอง ไปใช้สอนเด็กได้

- อาจารย์สั่งงาน

>  ให้นักศึกษาเขียน 1 ประโยค
1. คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คืออะไร  : การนับจำนวนหนังสือนิทานในห้องเรียน
2.การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ความคาดหวังที่คิดว่าจะได้เรียนรู้ในวิชานี้
  : สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ ที่จะนำไปพัฒนาทักษะของเด็กๆ
  : การจัดประสบการณ์
  : วิธี นับจำนวน ที่ถูกต้องเหมาะสมกับเด็ก
  : การสอนให้เด็ก รู้จักกล้าที่จะตัดสินใจ และ กล้าแสดงออก
- การสอน คือ การสอนด้วยคำพูด โดยมีการวางแผน เป้าหมาย  วัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้

- การจัดประสบการณ์ คือ การจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำโดยผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

กิจกรรมหลัก มี 6 กิจกรรม

     1. กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
     2. กิจกรรมเลือกเสรี
     3. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
     4. กิจกรรมเกมการศึกษา
     5. กิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์
     6. กิจกรรมกลางแจ้ง